วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556


วัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศต่างๆในอาเซียนและผลกระทบด้านวัฒนธรรมต่อประเทศไทย

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประเทศกัมพูชา
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
          ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน วัฒนธรรมประเพณีจึงมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนในประเทศ ซึ่งศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่
          *ระบำอัปสรา (Apsara Dance)
          เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่โดดเด่นของกัมพูชา ซึ่งถอดแบบการแต่งกายและท่าร่ายรำมาจากภาพจำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด
          *เทศกาลน้ำ (Water festival) หรือ บอน อม ตุก” (Bon Om Tuk)
          เทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระคุณของแม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ โดยจะมีการแข่งเรือยาว แสดงพลุดอกไม้ไฟ และการแสดงขบวนเรือประดับไฟ

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประเทศลาว
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
          วัฒนธรรมของลาวจะมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมทางภาคอีสานของไทยมาก ในด้านดนตรีแคน ถือเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ โดยมีวงดนตรีคือ วงหมอลำ และมี รำวงบัดสลบ (Budsiob) ซึ่งเป็นการเต้นที่มีท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระเบียบ ถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวในงานมงคลต่างๆ
          *การตักบาตรข้าวเหนียว
          ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสำรับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า ถวายจังหันโดยเวลาใส่บาตรจะนั่งคุกเข่าและผู้หญิงต้

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประเทศพม่า
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
          เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจีน อินเดีย และไทยมานาน จึงมีการผสานวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ากับวัฒนธรรมของตนจนเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงเกิดประเพณีสำคัญ เช่น
          *ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long) หรืองานบวชลูกแก้ว
          เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และชาวเมียนมาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว
          *งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี
          ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษา ถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนานและได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย 

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประเทศเวียดนาม
 
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
          ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของเวียดนามจะได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส เวียดนามมีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่
          *เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)”
          หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ถือเป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย
          *เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง
          จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู และมีก

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประเทศบรูไน
 
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
          บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา และการแต่งกายที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามด้วย เช่น สตรีชาวบรูไนจะแต่งตัวมิดชิด และจะไม่ยื่นมือให้ผู้ชายจับมือทักทาย เป็นต้น 

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประเทศอินโดนิเซีย
 
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
          มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป
          *วายัง กูลิต (WayangKilit)
          เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง
          *ระบำบารอง (Barong Dance)
          ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดีกับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
          *ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ
          เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้มระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า ปาเต๊ะคือส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง 

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประเทศสิงคโปร์
 
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
          สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนา ทำให้ประเทศนี้มีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย สำหรับเทศกาลที่สำคัญของสิงคโปร์ก็จะเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาเช่น  
          *เทศกาลตรุษจีน
          เทศกาลปีใหม่ของชาวจีนที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์                  
          *เทศกาล Good Friday
          จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขนของชาวคริตส์ในเดือนเมษายน
          *เทศกาลวิสาขบูชา
          จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าของชาวพุทธในเดือนพฤษภาคม
          *เทศกาล Hari Raya Puasa
          เทศกาลการเฉลิมฉลองของชาวมุสลิม ที่จัดขึ้นเมื่อสิ้นสุดพิธีถือศิลอดหรือรอมฏอนในเดือนตุลาคม
          *เทศกาล Deepavali
          เทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูที่จัดขึ้นเดือนพฤศจิกายน 

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประเทศมาเลเซีย
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
          ด้วยเหตุที่มีหลายชนชาติอยู่รวมกัน ทำให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายผสมผสานกัน ซึ่งมีทั้งการผสานวัฒนธรรมจากชนชาติอื่น และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชนแต่ละกลุ่มในแต่ละพื้นที่
          *การรำซาบิน (Zabin)
          เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิงชายจำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบียน และกลองเล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว
          *เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (TadauKaamatan)
          เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลอ
  
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประเทศฟิลิปปินส์
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศฟิลิปปินส์
          วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่               
 *เทศกาลอาติ อาติหาน (Ati - Atihan)
          จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)
  *เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)
          งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู (Cebu)
 *เทศกาลดินาญัง (Dinayang)
          งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม ที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประเทศไทย
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศไทย
          ได้รับอิทธิพลจากมอญ ขอม อินเดีย จีนและชาติตะวันตก แต่มีเอกลักษณ์ในด้านความงดงาม ประณีต และผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา
        
  *การไหว้
          เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะและให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทาย การไหว้ยังมีความหมายเพื่อการขอบคุณ ขอโทษ หรือกล่าวลาด้วย
 
       *โขน
          เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่ของไทย มีลักษณะสำคัญที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ซึ่งแสดงโดยใช้ท่ารำและท่าทางประกอบทำนองเพลง ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์และบทเจรจา ส่วนเรื่องที่นิยมแสดงคือ รามเกียรติ์
 
          *สงกรานต์
          ประเพณีเก่าแก่ ซึ่งถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติกัน โดยจะมีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ ทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทราย รวมทั้งมีการ

ผลกระทบด้านวัฒนธรรมต่อประเทศไทย
        ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักความร่วมมือเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันทางสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน เพื่อทำให้อาเซียนเป็นสังคมที่สมาชิกมีความเอื้อ-อาทรต่อกัน ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม
              ผลกระทบที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์และการขยายจำนวนสมาชิกของอาเซียนจนครบสิบประเทศในปัจจุบัน นำมาซึ่งความแตกต่างหรือความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้กำหนดนโยบายของประเทศสมาชิกอาเซียนริเริ่มจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ข้อริเริ่มว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เป็นหนึ่งในความพยายามครั้งล่าสุดที่จะแก้ไขและรับมือกับผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวทางกันของอาเซียน และกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งทำให้อาเซียนต้องเผชิญทั้งภัยคุกคามความมั่นคงแบบดั้งเดิมและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหาโลกร้อน และโรคระบาด


แหล่งอ้างอิง
http://www.9ddn.com/content_list.php?subcategory=63

+nugool sataporn 
นางสาวสุณิสา   ชื่นเรือง  ม.5/1  เลขที่ 39